เนื่องในวันไข้เลือดออกอาเซียน 15 มิถุนายนของทุกปี (ASEAN Dengue Day) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ตระหนักถึงการป้องกันโรคและร่วมกันแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ซึ่งโรคไข้เลือดออก ถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่ละปีพบผู้ป่วยไม่ต่ำกว่าปีละ 200,000 ราย และด้วยสภาพภูมิประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เหมาะสำหรับการแพร่พันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งน้ำวน ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคุ้งนำ้วน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านคุ้งน้ำวน ขอรณรงค์ เชิญชวนประชาชนในพื้นที่ตำบลคุ้งน้ำวนกำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุงลาย และให้สุขศึกษา ในตำบลคุ้งน้ำวน ภายใต้มาตรการ 3 เก็บ (1เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง ไม่ให้ยุงเกาะพัก 2เก็บขยะเศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพราะพันธุ์ยุงลาย 3เก็บน้ำปิดให้มิดชิด ไม่ให้ยุงวางไข่ ทำต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน) เพื่อเป็นการควบคุมโรคไข้เลือดออกในตำบลคุ้งน้ำวน
“3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค”
โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ป้องกันได้ ด้วยการเพิ่มวินัย รักษาสุขอนามัย ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ “ยุงลาย”
จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. -1 ก.ย. 64 พบผู้ป่วย 6,485 ราย เสียชีวิต 6 ราย กลุ่มอายุพบมากที่สุดคือ อายุ 5-14 ปี รองลงมา อายุ 15-24 ปี
การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์ ฉบับที่ 32/2564 ประจำสัปดาห์ที่ 37 (วันที่ 12 – 18 ก.ย. 64) จากกรมควบคุมโรค คาดว่าในช่วงนี้ จะมีโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นทุกภาคทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูกาลระบาดของโรคไข้เลือดออก
นอกจากนี้ หากผู้ป่วยโควิด 19 ติดเชื้อโรคไข้เลือดออกร่วมด้วย จะทำให้อาการทรุดหนักได้อย่างรวดเร็วและอาจเสียชีวิตได้ โดยกลุ่มที่ติดเชื้อโรคไข้เลือดออกและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตส่วนใหญ่ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และกลุ่มเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์
อาการสงสัยที่อาจจะป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ได้แก่
ไข้สูง ปวดเมื่อยตัว ปวดกระบอกตา
หรือโรคติดต่อนำโดยยุงลายอื่นๆ ให้เข้ารับการวินิจฉัยที่ สถานพยาบาลใกล้บ้าน
ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง โดยเฉพาะยาลดไข้กลุ่ม NSAIDs (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs) เช่น ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน เพราะอาจทำให้เลือดออกมากขึ้น หากจำเป็นให้ใช้เฉพาะยาพาราเซตามอล และควรเพิ่มการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค
มาตรการที่จะช่วยป้องกัน “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค”
ซึ่งจะ “ป้องกันได้ถึง 3 โรค ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย”
ที่มาข้อมูล : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข